วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการใส่ Load ที่ Support


ตัวอย่างการใช้ MFW-P1 ป้อนแรงกระทำที่ Support (Boundary)

     จากตัวอย่างโครงสร้างจำลองของคานต่อเนื่อง 2 ช่วง โดยกำหนดให้มี 5 Nodes, 4 Elements และมีแรงกระทำที่จุดรองรับ (support) ดังรูป
     จะเห็นได้ว่าที่ Node 3 กับ 5 ซึงเป็นจุดรองรับมี แรงแนวราบ (Px) = 20 kg , แรงแนวดิ่ง (Py) = 50 kg และ 35 kg กระทำตามลำดับ
... เมื่อป้อนข้อมูลของ Nodes, Element และ Materials แล้วก็มาถึงการป้อน Loads
 
1. ที่เมนู Loads
2. เลือก Element Load data
3. เลือก Point load


จะปรากฏหน้าต่าง Point Load on Element in Global Direction

1. ช่อง Element ใส่ชิ้นที่ 3
2. ช่อง Px (แรงแนวราบ) ใส่ค่า 20 kg
3. ช่อง Py (แรงแนวดิ่ง) ใส่ค่า -50 kg
4. ช่อง d (ระยะทางที่มีแรงกระทำวัดจาก Node เริ่มต้น) ในชิ้นนี้ใส่ค่า 0 m (เพราะให้ชิ้นที่ 3 เริ่มจาก node 3 ไป node 4)
5. กด OK เพื่อยืนยัน

จากนั้นป้อนชิ้น (Element) ที่ 4 ต่อ แต่ระยะทาง (d) ที่ Load กระทำจะเป็นที่ Node ปลายแทนดังรูป

ตรวจสอบการใส่ Load แบบกราฟิก โดยเลือกโชว์ที่โหมด Graphics Menu ที่ตำแหน่งของ Load Case คลิกช่อง Combination เลือก Load Case ที่ 1


ที่ช่อง Show Loads จะแสดงชนิดของ Load ให้ติ๊กที่ช่อง Point Load ก็จะปรากฏลูกศรแสดงแรงและทิศทางตามที่กำหนด